วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

       Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
           
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
           
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น




 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้

         
           ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ กล่าวคือ

           สังคมสารสนเทศเป็นลักษณะของสังคมที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเรื่องราวปลายศตวรรษที่ 20 มานี้เองหากมองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์สังคม เราจะพบว่าสังคมสารสนเทศเป็นสังคมที่พัฒนาต่อจากสังคมเกษตรและอุตสาหกรรมโดยมีที่มาจากการปฏิบัติเทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication revolution) จากเดิมที่มีเพียงโทรทัศน์วิทยุ ภาพยนตร์ และสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลัก มาเป็นสื่อใหม่ (new media) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ และสื่อที่อาศัยเทคโนโลยีโทรคมนาคม เช่น ดาวเทียม สายเคเบิลใยแก้ว โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

image
ภาพที่ 4 : ยุคสังคมสารสนเทศ 





      ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์

โลกาภิวัตน์ (Globalization)

          คำว่า “Globalization” อาจแทนด้วยคำว่า “Internationalization” ซึ่งเข้าใจได้ง่ายกว่า เช่นเดียวกับการเกิดของสังคมสารสนเทศ โลกาภิวัตน์ก็เกิดจากเทคโนโลยีการสื่อสารเช่นกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดังกล่าวได้ทำลายข้อจำกัดเรื่องพรมแดนในการสื่อสารไปในขณะที่สังคมสารสนเทศกำลังเติบโต โลกาภิวัตน์จึงเป็นเสมือนแฝดผู้น้องของสังคมสารสนเทศแฝดคู่นี้มีสิ่งที่เหมือนกันมากคือเป็นตัวการที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมทั้งเชิงบวกและลบ อย่างไรก็ตามแฝดผู้น้องมีลักษณะพิเศษบางประการที่ทำให้สามารถแยกแยะความแตกต่างจากแฝดผู้พี่ได้
  ลักษณะของโลกาภิวัตน์
สำหรับวงวิชาการแล้ว โลกาภิวัตน์จะถูกมอง 2 นัย คือ นัยด้านธุรกิจ/ธุรกรรมไร้พรมแดน และนัยด้านวัฒนธรรม
1. สำหรับนัยด้านธุรกิจ/ธุรกรรมไร้พรมแดน
โลกาภิวัตน์จะสะท้อนลักษณะเครือข่ายความเป็นเจ้าของ (network of interconnected ownership) และเครือข่ายการบริหารจัดการของธุรกิจการสื่อสารข้ามชาติ อันเป็นผลมาจากโครงสร้างการสื่อสารพื้นฐานครอบโลก (global communication infrastructure) เช่น อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น ดาวเทียม และการแพร่กระจายของสื่อมวลชนตะวันตกไปยังนานาประเทศทั่วโลก (Tran nationalization of mass media) เช่น ภาพยนตร์ฮอลีวู้ด ข่าว CNN มิวสิควิดีโอ เพลงสากล และเว็บไซต์นานาชนิด การเกิดขึ้นของธุรกิจข้ามชาติ (global business) เป็นทั้งผลและเหตุที่นำไปสู่การเกิดตลาดโลก (global market) ที่จะรองรับผลผลิตภัณฑ์ในรูปสื่อ (media products) เป็นต้น
2. ส่วนนัยทางด้านวัฒนธรรม
เป็นผลมาจากนัยด้านธุรกิจอีกทอดหนึ่ง กล่าวคือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นภาพและเสียงที่ถูกจัดจำหน่ายถ่ายทอดอย่างกว้างขวางเหล่านั้นมีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่ถูกประกอบสร้าง (Construct) ภายใต้วัฒนธรรมหนึ่ง ๆ เช่น เพลงฮิบฮอบของคนอเมริกัน ข่าวใส่สีตีไข่ (sensational) เข้าข้างเฉพาะคนอเมริกันของ CNN เป็นต้น แม้กระทั่งการผลิตสื่อก็จะถูกลอกเลียนแบบและคัดลอกได้ง่าย
ผลที่เกิดขึ้นตามมาจากปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์
เช่นเดียวกับสังคมสารสนเทศ โลกาภิวัตน์ก็ส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งในเชิงบวกและลบ

      

        ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพันมีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้นหน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลงและเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่ายการดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็วโดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 

image
ภาพที่ 5 : การสื่อสารโทรคมนาคม





         ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง ซึ่งแต่เดิมการใช้เทคโนโลยีเป็นแบบบังคับ เช่น การดูโทรทัศน์ วิทยุ เมื่อเปิดเครื่องรับโทรทัศน์ จะไม่สามารถเลือกตามความต้องการได้ ถ้าสถานีส่งสัญญาณใดมาก็จะต้องชม หากไม่พอใจก็ทำได้เพียงเลือกสถานีใหม่ แนวโน้มจากนี้ไปจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่า On demand เช่น หรือ การศึกษาเรียนรู้แบบ Education on demand
image
ภาพที่ 5 : การใช้อินเตอร์เน็ต

      ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา เมื่อการสื่อสารแบบสองทางก้าวหน้าและแพร่หลายขึ้น การโต้ตอบผ่านเครือข่ายทำให้เสมือนมีปฏิสัมพันธ์ได้จริง เรามีระบบ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ระบบประชุมบนเครือข่าย มีระบบ Tele-education มีระบบการค้าบนเครือข่าย ลักษณะของการดำเนินธุรกิจเหล่านี้ทำให้ขยายขอบเขตการทำงาน หรือดำเนินกิจกรรมไปทุกหนทุกแห่ง และดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง เราจะเห็นจากตัวอย่างที่มีมานานแล้ว เช่น ระบบเอทีเอ็ม ทำให้การเบิกจ่ายได้เกือบตลอดเวลา และกระจายไปใกล้ตัวผู้รับบริการมากขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น การบริการจะกระจายมากยิ่งขึ้นจนถึงที่บ้าน ในอนาคตสังคมการทำงานจะกระจายจนงานบางงานอาจนั่งทำที่บ้านหรือที่ใดก็ได้ และเวลาใดก็ได้
image
image
ภาพที่ 6 : การใช้บริการ ATM และการเรียนการสอนออนไลน์
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น แต่เดิมการตัดสินปัญหาอาจมีหนทางให้เลือกได้น้อย เช่น มีคำตอบเดียว ใช่ และ ไม่ใช่ แต่ด้วยข้อมูลข่าวสารที่สนับสนุนการตัดสินใจ ทำให้วิถีความคิดในการตัดสินปัญหาเปลี่ยนไป ผู้ตัดสินใจมีทางเลือกได้มากขึ้น มีความละเอียดอ่อนในการตัดสินปัญหาได้ดีขึ้น
            กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ





ที่มา  : radompon ,kmitl

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น