เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (Technology in Education) หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน เพื่อให้การศึกษาการสอนการเรียนมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการศึกษา ได้แก่เทคโนโลยีต่าง ๆ ดังนี้
1. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารทางไกลโดยผ่านระบบการสื่อสารคมนาคมต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ในการรับข้อมูล ประมวลผลข้อมูลและนำเสนอข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการ
3. เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network-LAN) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ไม่มากนัก มักอยู่ในอาคารหลังเดียว เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network-WAN) เป็นระบบเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์กระจายอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ช่วยให้สำนักงานในจังหวัดติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับสำนักงานใหญ่ที่อยู่ในเมืองหลวงได้
4. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เป็นแนวคิดที่นำระบบเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์สำนักงาน
เช่น ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบประชุมทางไกล
5. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เป็นการประมวลผลข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ เพื่อช่วยในการจัดการและบริหารงาน
6. ระบบมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความเข้าด้วยกันโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการแสดงผล นำไปประยุกต์ใช้ในการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) กิจกรรมเพื่อการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในปัจจุบันนี้ได้แก่ วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา วิทยุโรงเรียน โทรทัศน์เพื่อการศึกษา การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ระบบประชุมทางไกล ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในบทความผู้เขียนได้กล่าวถึงความสำคัญของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มีในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และประวัติการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาของไทยไว้ด้วย
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู
รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู
วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ในโลกยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและพัฒนาไป อย่างรวดเร็วทำให้ชีวิตของมนุษย์ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการใช้ชีวิตประจำวันอยู่เสมอ และในบางครั้งคนเราก็ไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำไปว่ากำลังใช้และพึ่งพาเทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของเราในปัจจุบันล้วนได้รับการพัฒนามาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจนนำมาผลิตเป็นสิ่งของเครื่องใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์มากมาย และเราได้ใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันจนเกิดความเคยชิน การใช้ชีวิตของคนเราในปัจจุบันได้มีการใช้เทคโนโลยีตั้งแต่เริ่มตื่นนอนเพราะในการตื่นนอนก็จะต้องใช้นาฬิกาปลุกหรือมือถือตั้งปลุก มาถึงในเรื่องการรับประทานอาหารก็ต้องใช้ไมโครเวฟในการทำอาหาร ไม่ว่าจะซักผ้าหรือทำความสะอาดบ้าน หรือทำอะไรก็ตามมนุษย์เราก็มักจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและพึ่งพิงเทคโนโลยีอยู่เสมอ การใช้เทคโนโลยีของมนุษย์ที่เห็นได้ชัดเจนก็คงจะหนีไม่พ้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยเฉพาะการใช้โทรศัพท์มือถือ ในยุคนี้คงยากที่จะปฏิเสธได้ว่าโทรศัพท์มือถือไม่มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ เพราะคนส่วนใหญ่ต่างก็ใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะไปไหนทุกคนก็จะต้องนำมือถือติดตัวไปด้วยตลอดเวลา โทรศัพท์มือถือในสมัยนี้มีความสามารถมากกว่าการรับสายและโทรออก เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าได้รวมเอากิจกรรมความบันเทิงทุกอย่างเข้ามาโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง เล่นเกมส์ ท่องอินเทอร์เน็ต ดูทีวี ถ่ายรูป ก็สามารถทำได้ผ่านโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การพกพาโทรศัพท์มือถือได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือคนชราทั้งในเมืองและในชนบทก็ล้วนมีโทรศัพท์มือถือกันแทบทั้งสิ้น นอกจากนี้การใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ทก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในโปรแกรมต่าง ๆ ที่ช่วยในการทำงาน การหาข้อมูลและความบันเทิงจากอินเตอร์เน็ท การรับ-ส่ง E-mail การสนทนาออนไลน์ การเล่นเกมส์ออนไลน์ หรือแม้กระทั่งการรับข้อมูลข่าวสารผ่านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ทก็สามารถอำนวยความสะดวกในเรื่องการติดต่อสื่อสารระหว่างกันของมนุษย์ให้เป็นเรื่องที่ง่ายดายขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดเวลาไหนเราก็จะสามารถที่จะหาข้อมูลและข่าวสารที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ทก็ยังถูกนำมาใช้ในเรื่องการค้าและพาณิชย์ด้วยเช่นกัน
ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ กล่าวคือ
สังคมสารสนเทศเป็นลักษณะของสังคมที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเรื่องราวปลายศตวรรษที่ 20 มานี้เองหากมองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์สังคม เราจะพบว่าสังคมสารสนเทศเป็นสังคมที่พัฒนาต่อจากสังคมเกษตรและอุตสาหกรรมโดยมีที่มาจากการปฏิบัติเทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication revolution) จากเดิมที่มีเพียงโทรทัศน์วิทยุ ภาพยนตร์ และสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลัก มาเป็นสื่อใหม่ (new media) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ และสื่อที่อาศัยเทคโนโลยีโทรคมนาคม เช่น ดาวเทียม สายเคเบิลใยแก้ว โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
ภาพที่ 4 : ยุคสังคมสารสนเทศ
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
โลกาภิวัตน์ (Globalization)
คำว่า “Globalization” อาจแทนด้วยคำว่า “Internationalization” ซึ่งเข้าใจได้ง่ายกว่า เช่นเดียวกับการเกิดของสังคมสารสนเทศ โลกาภิวัตน์ก็เกิดจากเทคโนโลยีการสื่อสารเช่นกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดังกล่าวได้ทำลายข้อจำกัดเรื่องพรมแดนในการสื่อสารไปในขณะที่สังคมสารสนเทศกำลังเติบโต โลกาภิวัตน์จึงเป็นเสมือนแฝดผู้น้องของสังคมสารสนเทศแฝดคู่นี้มีสิ่งที่เหมือนกันมากคือเป็นตัวการที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมทั้งเชิงบวกและลบ อย่างไรก็ตามแฝดผู้น้องมีลักษณะพิเศษบางประการที่ทำให้สามารถแยกแยะความแตกต่างจากแฝดผู้พี่ได้
ลักษณะของโลกาภิวัตน์
สำหรับวงวิชาการแล้ว โลกาภิวัตน์จะถูกมอง 2 นัย คือ นัยด้านธุรกิจ/ธุรกรรมไร้พรมแดน และนัยด้านวัฒนธรรม
1. สำหรับนัยด้านธุรกิจ/ธุรกรรมไร้พรมแดน
โลกาภิวัตน์จะสะท้อนลักษณะเครือข่ายความเป็นเจ้าของ (network of interconnected ownership) และเครือข่ายการบริหารจัดการของธุรกิจการสื่อสารข้ามชาติ อันเป็นผลมาจากโครงสร้างการสื่อสารพื้นฐานครอบโลก (global communication infrastructure) เช่น อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น ดาวเทียม และการแพร่กระจายของสื่อมวลชนตะวันตกไปยังนานาประเทศทั่วโลก (Tran nationalization of mass media) เช่น ภาพยนตร์ฮอลีวู้ด ข่าว CNN มิวสิควิดีโอ เพลงสากล และเว็บไซต์นานาชนิด การเกิดขึ้นของธุรกิจข้ามชาติ (global business) เป็นทั้งผลและเหตุที่นำไปสู่การเกิดตลาดโลก (global market) ที่จะรองรับผลผลิตภัณฑ์ในรูปสื่อ (media products) เป็นต้น
2. ส่วนนัยทางด้านวัฒนธรรม
เป็นผลมาจากนัยด้านธุรกิจอีกทอดหนึ่ง กล่าวคือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นภาพและเสียงที่ถูกจัดจำหน่ายถ่ายทอดอย่างกว้างขวางเหล่านั้นมีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่ถูกประกอบสร้าง (Construct) ภายใต้วัฒนธรรมหนึ่ง ๆ เช่น เพลงฮิบฮอบของคนอเมริกัน ข่าวใส่สีตีไข่ (sensational) เข้าข้างเฉพาะคนอเมริกันของ CNN เป็นต้น แม้กระทั่งการผลิตสื่อก็จะถูกลอกเลียนแบบและคัดลอกได้ง่าย
ผลที่เกิดขึ้นตามมาจากปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์
เช่นเดียวกับสังคมสารสนเทศ โลกาภิวัตน์ก็ส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งในเชิงบวกและลบ
Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ กล่าวคือ
สังคมสารสนเทศเป็นลักษณะของสังคมที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเรื่องราวปลายศตวรรษที่ 20 มานี้เองหากมองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์สังคม เราจะพบว่าสังคมสารสนเทศเป็นสังคมที่พัฒนาต่อจากสังคมเกษตรและอุตสาหกรรมโดยมีที่มาจากการปฏิบัติเทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication revolution) จากเดิมที่มีเพียงโทรทัศน์วิทยุ ภาพยนตร์ และสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลัก มาเป็นสื่อใหม่ (new media) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ และสื่อที่อาศัยเทคโนโลยีโทรคมนาคม เช่น ดาวเทียม สายเคเบิลใยแก้ว โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
ภาพที่ 4 : ยุคสังคมสารสนเทศ
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
โลกาภิวัตน์ (Globalization)
คำว่า “Globalization” อาจแทนด้วยคำว่า “Internationalization” ซึ่งเข้าใจได้ง่ายกว่า เช่นเดียวกับการเกิดของสังคมสารสนเทศ โลกาภิวัตน์ก็เกิดจากเทคโนโลยีการสื่อสารเช่นกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดังกล่าวได้ทำลายข้อจำกัดเรื่องพรมแดนในการสื่อสารไปในขณะที่สังคมสารสนเทศกำลังเติบโต โลกาภิวัตน์จึงเป็นเสมือนแฝดผู้น้องของสังคมสารสนเทศแฝดคู่นี้มีสิ่งที่เหมือนกันมากคือเป็นตัวการที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมทั้งเชิงบวกและลบ อย่างไรก็ตามแฝดผู้น้องมีลักษณะพิเศษบางประการที่ทำให้สามารถแยกแยะความแตกต่างจากแฝดผู้พี่ได้
ลักษณะของโลกาภิวัตน์
สำหรับวงวิชาการแล้ว โลกาภิวัตน์จะถูกมอง 2 นัย คือ นัยด้านธุรกิจ/ธุรกรรมไร้พรมแดน และนัยด้านวัฒนธรรม
1. สำหรับนัยด้านธุรกิจ/ธุรกรรมไร้พรมแดน
โลกาภิวัตน์จะสะท้อนลักษณะเครือข่ายความเป็นเจ้าของ (network of interconnected ownership) และเครือข่ายการบริหารจัดการของธุรกิจการสื่อสารข้ามชาติ อันเป็นผลมาจากโครงสร้างการสื่อสารพื้นฐานครอบโลก (global communication infrastructure) เช่น อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น ดาวเทียม และการแพร่กระจายของสื่อมวลชนตะวันตกไปยังนานาประเทศทั่วโลก (Tran nationalization of mass media) เช่น ภาพยนตร์ฮอลีวู้ด ข่าว CNN มิวสิควิดีโอ เพลงสากล และเว็บไซต์นานาชนิด การเกิดขึ้นของธุรกิจข้ามชาติ (global business) เป็นทั้งผลและเหตุที่นำไปสู่การเกิดตลาดโลก (global market) ที่จะรองรับผลผลิตภัณฑ์ในรูปสื่อ (media products) เป็นต้น
2. ส่วนนัยทางด้านวัฒนธรรม
เป็นผลมาจากนัยด้านธุรกิจอีกทอดหนึ่ง กล่าวคือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นภาพและเสียงที่ถูกจัดจำหน่ายถ่ายทอดอย่างกว้างขวางเหล่านั้นมีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่ถูกประกอบสร้าง (Construct) ภายใต้วัฒนธรรมหนึ่ง ๆ เช่น เพลงฮิบฮอบของคนอเมริกัน ข่าวใส่สีตีไข่ (sensational) เข้าข้างเฉพาะคนอเมริกันของ CNN เป็นต้น แม้กระทั่งการผลิตสื่อก็จะถูกลอกเลียนแบบและคัดลอกได้ง่าย
ผลที่เกิดขึ้นตามมาจากปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์
เช่นเดียวกับสังคมสารสนเทศ โลกาภิวัตน์ก็ส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งในเชิงบวกและลบ
ประวัติความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
ที่มาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
มนุษย์มีความพยายามที่จะพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดของมนุษยชาติไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาภาษาพูด หรือการติดต่อโดยการใช้รหัสอื่นๆ เช่น มือ หรือท่าทางต่างๆ คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนังถ้ำ จนกระทั่งการพัฒนาภาษาเขียนที่เป็นสัญลักษณ์และตัวอักษร นอกจากการพัฒนาการสื่อสารดังกล่าวแล้ว มนุษย์ก็ยังไม่หยุดยั้งในการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารทางไกล ซึ่งเกิดขึ้นจากการขยายเผ่าพันธุ์ที่มีจำนวนมากขึ้น การโยกย้ายเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ทำให้เกิดความจำเป็นในการติดต่อสื่อสารทางไกล ด้วยความสามารถในการบันทึกข้อความหรือข่าวสารลงในกระดาษหรืออุปกรณ์อื่นๆ ทำให้มนุษย์พัฒนาระบบไปรษณีย์ขึ้นเพื่อใช้เป็นบริการในการติดต่อสื่อสารข่าวสารข้อมูลทางไกล และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการรับส่งข่าวสารให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ต่อมามนุษย์ได้พยายามพัฒนาทั้งวิธีการจัดส่งและเทคโนโลยีในการจัดส่ง การเพิ่มความเร็วด้วยการปรับปรุงวิธีการจัดส่งจากรูปแบบของการเดินทางมาเป็นม้า รถ และเครื่องบินตามลำดับนั้น จนกระทั่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งก่อให้เกิดบริการใหม่ๆ เช่น บริการโทรเลข โทรศัพท์ โทรทัศน์ และด้วยเทคโนโลยีโทรคมนาคมดังกล่าว มนุษย์สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารถึงกันได้ทั่วโลก และแม้กระทั่งจากนอกโลกได้ เช่น การติดต่อสื่อสารระหว่างยานอวกาศกับสถานีภาคพื้นดินในเวลาที่รวดเร็วมาก จนกระทั่งอาจจะกล่าวได้ว่าผู้รับข่าวสารได้รับข่าวสารในเวลาเดียวกันกับที่ผู้ส่งข่าวสารได้เริ่มส่งข่าวสาร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)